ชุดกล้ามเนื้อหน้าท้องประกอบไปด้วยกล้ามเนื้ออะไรบ้าง ?
ชุดกล้ามเนื้อหน้าท้องด้านหน้าที่สำคัญมากกับร่างกายมีทั้งหมด 4 กล้ามเนื้อ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งเชิงโครงสร้างและการทำงาน ดังนี้
สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยก
- ภาวะหลังคลอด (post-partum)
- ออกกำลังกายผิดวิธี
- ความเครียด (stress) อันส่งผลต่อความตึงตัวของเนื้อเยื่อ fascia
- พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
หน้าท้องแยกหลังคลอด (Diastasis Recti) คืออะไร
หน้าท้องย้วย พุงไม่ยุบ หลังคลอด เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลังคลอด เกิดจากกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด ซึ่งไม่ว่าจะออกกำลังกายยังไง หน้าท้องก็ยังไม่ค่อยยุบ มีความห้อยย้อย ขาดความกระชับ
กล้ามเนื้อ six-pack หรือ Rectus Abdominis Muscle ถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อคอลลาเจน ที่เรียกกันว่า Linea Alba
ขณะตั้งครรภ์มดลูกที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้หน้าท้องยืดขยายออก หากเนื้อเยื่อ Linea Alba ขาดความยืดหยุ่นก็จะทำให้หน้าท้องแยกออกจากกัน เกิดเป็นปัญหากล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด รูปร่างแลดูไม่กระชับเหมือนตอนก่อนคลอด ซึ่งการแยกของกล้ามเนื้อหน้าท้องอาจแคบลงได้หลังจากมดลูกเข้าอู่หรือคลอดบุตรไปแล้วประมาณ 8 สัปดาห์
กลไกการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด
ขณะตั้งครรภ์จะมีแรงดันบริเวณหน้าท้องที่เพิ่มมากขึ้น จนอาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่สามารถคงรูปร่างไว้ได้เหมือนเดิม กล่าวคือเมื่อมดลูกมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อที่เคยเล็กก็เกิดการขยาย หากกล้ามเนื้อหน้าท้องเกิดการยืดขยายมากเกินไปก็จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหรือที่เรียกว่า “Diastasis recti” นั่นเอง
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์คลอดบุตรไปเรียบร้อยแล้ว รอยแยกอาจจะเล็กลงได้แต่ต้องใช้เวลานานถึง 8 สัปดาห์หรืออาจจะไม่สามารถกลับมากระชับเหมือนก่อนตั้งครรภ์ได้อีก อีกทั้งมีคนไข้บางคนเร่งออกกำลังกายอย่างหนักหลังคลอดแต่ไม่ถูกวิธีก็อาจเพิ่มความเสียหายให้กับกล้ามเนื้อมากขึ้น การพยุงอวัยวะช่องท้องภายในร่างกายไม่แข็งแรง ปวดหลัง และผิวบริเวณหน้าท้องไม่กระชับ ห้อยย้อยหรือย้วย
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด
- อายุมากกว่า 35 ปี (over 35 years old)
- ตั้งครรภ์แฝด (multiples)
- ตั้งครรภ์ถี่ (multiple pregnancies)
- มารดามีรูปร่างเล็ก (extremely petite)
- ทารกในครรภ์น้ำหนักมาก (heavy baby)
- การคลอดธรรมชาติ (vaginal delivery) เพราะการคลอดธรรมชาติจะเพิ่มความดันภายในช่องท้อง ทำให้เกิดรอยแยกระหว่างกล้ามเนื้อหน้าท้องได้ง่ายกว่าปกติ
อาการแสดงของภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด
- รอยแยกระหว่างกล้ามเนื้อหน้าท้องในคนไข้บางรายจะมีผิวสัมผัสคล้ายวุ้น(jelly-like texture) ตอนที่กล้ามเนื้อหน้าท้องมีการหดเกร็ง
อาการร่วมของภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด
- ปวดหลัง (low back pain)
- ปวดสะโพก (pelvic or hip pain)
- เสียบุคลิกภาพ (poor posture)
- ท้องผูก (constipation)
- เดินหรือยกของลำบาก (Difficulty walking or lifting objects)
เราจะสังเกตภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกด้วยตนเองได้อย่างไร
- นอนราบลงไปที่พื้น งอเข่าทั้งสองข้าง เท้าวางราบไปกับพื้น
- วางมือชิดติดกันแล้วใช้ปลายนิ้วมือวางลงไปบนหน้าท้องระหว่างลิ้นปี่กับสะดือ หลังจากนั้นจิ้มค้างไว้โดยวางมือขนานไปกับหน้าท้อง
- ยกตัวขึ้นมาเหมือนกับการทำท่าซิทอัพแต่เกร็งไว้ในท่าขณะกำลังยกตัวขึ้นนั่ง
- ใช้ปลายนิ้วสัมผัสกล้ามเนื้อหน้าท้องและร่องลึกระหว่างกล้ามเนื้อ ถ้าคนปกติทั่วไปเมื่อทำท่านี้หน้าท้องจะถูกเกร็งและแข็งขึ้นมา แต่ในคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยก จะไม่รู้สึกแข็งตรงบริเวณที่กดแต่จะรู้สึกถึงร่องที่ยุบยวบลงไป
ในช่วงที่มดลูกยังไม่เข้าอู่เป็นช่วงที่คนไข้หลังคลอดจะมีปัญหากล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรงไปด้วย อาจทำให้มีอาการปวดหลัง อุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง หรืออาจทำให้เสียบุคลิกภาพได้
กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้หรือไม่
รอยแยกอาจจะเล็กลงได้หลังคลอด 8 สัปดาห์ และพบว่าผู้หญิงที่มีกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอดบางรายจะไม่หายกลับมาเป็นปกติแม้ว่าจะผ่านไปเป็นปีแล้วก็ตาม
ทำไมกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้เอง ?
คุณแม่หลังคลอดหลายรายมีปัญหากล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอดที่ไม่สามารถกลับมา
เหมือนเดิมได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- ความรุนแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องแยก(severity of the diastasis) โดยหากกล้ามเนื้อ
หน้าท้องแยกกันรุนแรงมาก จะมีโอกาสที่จะกลับมาเหมือนเดิมได้น้อย
- พันธุกรรม(genetics) เพราะในคนไข้บางรายมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อ่อนแอกว่าปกติ(weaker
connective tissue) จึงลดโอกาสที่กล้ามเนื้อหน้าท้องหลังคลอดจะกลับมาใกล้ชิดกัน
- การตั้งครรภ์หลายครั้ง(multiple pregnancies) เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องผ่านการยืด
ขยายซ้ำๆ จนทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกห่างกันมากเกินไป จึงมีโอกาสที่จะกลับมา
เหมือนก่อนตั้งครรภ์ได้น้อย
- วิถีชีวิตประจำวัน(lifestyle) เนื่องจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น การออก
กำลังกายที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหลังคลอดแย่ลงกว่าเดิม หรือการที่มี
วิถีชีวิตแบบเนือยนิ่ง(sedentary lifestyle) ก็ลดโอกาสที่กล้ามเนื้อหน้าท้องจะกลับมา
ใกล้ชิดกันได้อีกหลังคลอด
- อายุ(age) คือ เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะมีความยืดหยุ่นลดลง
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน(hormonal changes) เพราะฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์มี
ผลกระทบต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วร่างกายรวมถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณหน้าท้องด้วย ซึ่งมี
ผลยาวนานถึงช่วงหลังคลอด ทำให้การชิดติดกันของกล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นไปได้ยาก
- สัดส่วนและน้ำหนัก หรือ BMI(Body mass index) คือ คนไข้ที่มี BMI สูง จะมีไขมัน
ส่วนเกินรบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด
หายได้ยาก
การรักษาภาวะหน้าท้องแยกหลังคลอด
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- เคลื่อนไหวร่างกายอย่างอ่อนโยน
- กายภาพบำบัด
- Elastic belly bands
- การผ่าตัดโดยศัลยแพทย์
- Abdominoplasty คือ การผ่าตัดเพื่อพับและเย็บบริเวณตรงกลางที่อ่อนแอเข้าไว้ด้วยกัน
- Laparoscopy คือ การผ่าตัดช่องท้องด้วยการส่องกล้อง ซึ่งทำให้เกิดแผลขนาดเล็กแทนที่จะเป็นแผลใหญ่ แต่อย่างไรก็ดีการผ่าตัดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆเช่น การติดเชื้อ แผลเป็น เป็นต้น
- ฟื้นฟูด้วย Emsculpt NEO ที่ THE KLINIQUE
- นวัตกรรมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเฉพาะเจาะจง หรือ HIFEM(High Intensity Focused Electro-Magnetic field) ได้รับมาตรฐานการรับรองจาก US FDA เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งได้มากถึง 20,000 ครั้งในเวลา 30 นาที กระตุ้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อมากถึงร้อยละ 16 ช่วยเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อและกระตุ้นการสร้างเส้นใยกล้ามเนื้อในมัดกล้ามเนื้อ กระชับสัดส่วน และสลายไขมันส่วนเกินได้ถึงร้อยละ 19
- เทคโนโลยี Synchronized RF ที่ปล่อยความร้อนด้วยคลื่นวิทยุ ไปสะสมความร้อนในชั้นไขมัน กระตุ้นกระบวนการตายของเซลล์ไขมันอย่างเป็นธรรมชาติ(Apoptosis)
เพราะความสวยของคุณคือความสุขของเรา ให้ THE KLINIQUE ดูแลคุณ
สอบถามโปรโมชั่นหรือปรึกษาปัญหาผิวและรูปร่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
Line OA: http://bit.ly/TheKlinique