โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย(Rosacea) หรือ สิวหน้าแดง คืออะไร รักษาอย่างไร?

โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อ มีลักษณะเป็นผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนองและร่างแหของเส้นเลือดเล็กๆ(telangiectasia) พบมากบริเวณแก้ม จมูก คาง หน้าผาก หรือตาได้ด้วย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัยโดยเฉพาะช่วงอายุ 30-50 ปี พบมากในเพศหญิง ผิวขาว มีภาวะอ้วน สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา มีประวัติครอบครัวเป็นโรคผิวหนังโรซาเชียมาก่อน โดยมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคโรซาเชียอยู่ที่ประมาณ 5.5%

             โรซาเชียอาจเป็นสาเหตุให้คนไข้สูญเสียความมั่นใจหรือเป็นโรควิตกกังวลได้ จากงานวิจัยในปัจจุบันพบว่าโรซาเชียมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคทางเดินอาหาร โรคทางระบบประสาท โรคจิตเวชหรือโรคภูมิคุ้มกันด้วย อีกทั้งเป็นโรคที่หายแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำใหม่ได้

อาการของโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย

  • เส้นเลือดที่จมูกและแก้มมักขยายตัวจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน(superficial blood vessels)
  • เกิดรอยแดงที่ใบหน้า โดยมักทำให้เกิดรอยแดงอย่างถาวรบริเวณกลางใบหน้า
  • มีตุ่มแดงบวมคล้ายสิวหรือมีหนอง
  • รู้สึกแสบ ร้อน กดเจ็บหรือชาที่ผิวหนัง
  • ผิวแห้ง ผิวหยาบกร้านขรุขระ และรูขุมขนกว้าง
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาบวมแดงและระคายเคือง เปลือกตาแดง ตาแห้งเป็นต้น โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่ตาก่อนจะเกิดอาการทางผิวหนัง ซึ่งอาจกระทบต่อการมองเห็นด้วย
  • จมูกอาจขยายใหญ่ขึ้นและผิวหนังบนจมูกอาจหนาขึ้น (rhinophyma) แต่ก็พบได้ค่อนข้างน้อย และเกิดขึ้นกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง

การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย

  1. มีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    • อาการหน้าแดงบริเวณจมูก แก้ม คาง และหน้าผาก โดยอาจพบอาการกำเริบเป็นระยะ
    • ผิวหนังปลายจมูกมีลักษณะนูนหนาและขรุขระหรือ
  2. มีอาการดังต่อไปนี้มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ข้อ
    • ตุ่มนูนและตุ่มหนอง
    • อาการหน้าแดงซ่าน
    • ลักษณะร่างแหของหลอดเลือดฝอย
    • อาการทางตา เช่น พบร่างแหของหลอดเลือดฝอยบริเวณเปลือกตา เยื่อบุตาอักเสบ กระจกตาอักเสบ เป็นต้น

เนื่องจากผื่นโรซาเชียมีลักษณะคล้ายคลึงกับผื่นชนิดอื่นๆ เช่น สิว ผื่นจากโรคพุ่มพวง เป็นต้น จึงควรได้รับการวินิจฉัยแยกโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชียมี 4 ชนิด

  1. Vascular Rosacea คือมีอาการหน้าแดงตลอดเวลา ร่วมกับพบลักษณะร่างแหของหลอดเลือดฝอยบริเวณใบหน้า(visible blood vessels) อาจพบหน้าบวมร่วมด้วยได้
  2. Inflammatory Rosacea มีอาการหน้าแดงตลอดเวลา ร่วมกับมีตุ่มนูนหรือตุ่มหนอง(papules and pustules) อาจทำให้แยกยากจากสิว
  3. Phymatous Rosacea มีอาการผิวหนังหนาตัวขึ้น(thickened skin) และขรุขระ(bumpy texture) พบได้บ่อยบริเวณจมูก ทำให้จมูกขยายใหญ่ขึ้น มักพบในผู้ชาย
  4. Ocular Rosacea จะมีอาการทางตาโดยพบลักษณะร่างแหของหลอดเลือดฝอยบริเวณเปลือกตา ตาสู้แสงไม่ได้ เยื่อบุตาอักเสบ กระจกตาอักเสบ อาจเกิดเปลือกตาอักเสบได้

สาเหตุของผื่นโรซาเชีย

ถึงแม้ในปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  • พันธุกรรม
  • การติดเชื้อไรที่เรียกว่า “Demodex Folliculorum” ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่หากมีปริมาณมากก็อาจทำให้ระคายเคืองผิวและเกิดผื่นโรซาเชียได้
  • การสัมผัสลม แสงแดด หรืออยู่ในอุณหภูมิแบบสุดขั้ว
  • การใช้เครื่องสำอางบางชนิด
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย Pylori
  • การดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนหรือแอลกอฮอล์
  • การรับประทานอาหารรสเผ็ด

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดผื่นโรซาเชีย(Triggers)

  • อาหารรสจัด (spicy foods)
  • การดื่มแอลกอฮอล์ (alcohol)
  • อากาศร้อนหรือเย็น (hot or cold temperatures)
  • แสงแดด (sunlight)
  • ภาวะเครียด(being stressed)
  • ยาบางชนิดเช่น ยาลดไขมัน ยาขยายหลอดเลือด(medications)

 

แนวทางการรักษา

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นทั้งหมดที่เป็นไปได้ เช่น อาหารรสจัด ความร้อน
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ผิว (skin care) ที่อ่อนโยนต่อผิว
  • การใช้ยา
    • รักษาผื่นแดง
      • ยาทา: Brimonidine และ Oxymetazoline
    • รักษาตุ่มนูนแดงหรือตุ่มหนอง
      • ยาทา: Ivermectin, Metronidazole, Azelaic acid
      • ยากิน: Doxycycline
      • กรณีที่มีอาการรุนแรงมากและผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น
        • Isotretinoin (ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดได้)
      • การรักษาด้วยเลเซอร์VBeam เพื่อลดกำจัดร่างแหของเส้นเลือดเล็กๆ(telangiectasia)
      • การทำ Light-based therapies แบบเฉพาะเจาะจงเพื่อรักษาผิวบริเวณที่มีอาการ
      • การใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าเพื่อรักษาจมูกบวมหรือ Rhinophyma และรักษาเส้นเลือดที่ขึ้นจนเห็นได้ชัด
      • การกรอผิว(Dermabrasion) เป็นเทคนิคการขัดผิวที่ใช้เครื่องมือหมุนเพื่อขจัดผิวหนังชั้นนอก
      • พบจักษุแพทย์ หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางตาร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรซาเซีย

  • จมูกผิดรูป
  • ผิวหน้าไม่เรียบเนียน
  • กระจกตาอักเสบ

การป้องกันโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่เป็นสาเหตุของโรซาเชีย เช่น แสงแดด อากาศเย็น สุรา บุหรี่ อาหารรสจัด หรือความเครียด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าหรือการขัดหน้าที่มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดเวลากลางวัน หรือใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกหรือร่ม และใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันรังสียูวี (SPF) 30 ขึ้นไป
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงผิวหน้าที่อ่อนโยนต่อผิวอยู่เสมอ(sensitive skin)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์หรือสารที่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง
  • ใช้เครื่องสำอางชนิดที่ล้างออกง่ายและหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณดวงตา
  • หากเปลือกตาอักเสบจากโรคโรซาเชีย ให้ดูแลและบรรเทาอาการด้วยการทำความสะอาดเปลือกตาด้วยน้ำอุ่น

เพราะความสวยของคุณคือความสุขของเรา ให้ THE KLINIQUE ดูแลคุณ

สอบถามโปรโมชั่นหรือปรึกษาปัญหาผิวและรูปร่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!

Line OA: http://bit.ly/TheKlinique

Facebook: https://www.facebook.com/TheKliniqueMedicalClinic

THE KLINIQUE

THE KLINIQUE (เดอะคลีนิกค์) ผู้นำอันดับ 1 นวัตกรรมยกกระชับปรับรูปหน้าและลดริ้วรอย ระดับเอเชียแปซิฟิค ตอบโจทย์ทุกศาสตร์ความงามให้กับ ทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย เพื่อความงามอย่างเป็นธรรมชาติในแบบฉบับของตัวเอง เน้นประสิทธิภาพการรักษาจากการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และนวัตกรรมทางการแพทย์มาตรฐานสหรัฐอเมริกา USFDA และยุโรป ทั้งนี้ด้านการยกกระชับ ปรับรูปหน้า ดูแลรูปร่าง ปัจจุบัน THE KLINIQUE มีเทคโนโลยีท่ีดีที่สุด และได้รับมอบรางวัลผ้นำอันดับ 1 ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติทําให้เดอะคลีนิกค์ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดตามเรา