ไม่แก่ได้ไหม ?
เมื่อเวลาผ่านไป อวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงผิวหนังจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไม่สามารถต่อต้านภาวะเครียดภายในเซลล์และไม่สามารถซ่อมแซมความเสียหายของเซลล์ที่เกิดขึ้นได้
ผิวหนังของมนุษย์ก็เช่นกัน ต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมมากมาย รวมถึงมลพิษทางอากาศ(air pollutants) และ รังสียูวี(UV light) โดยมลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นกระบวนการชราของผิวหนัง นำไปสู่ปัญหาผิวต่างๆ เช่น ริ้วรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำบนใบหน้า
ปัจจัยที่ทำให้ผิวแก่
ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดของร่างกาย มีบทบาทในการปกป้องอวัยวะภายในจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ควบคุมอุณหภูมิและควบคุมการสูญเสียสารน้ำภายในร่างกายให้สมดุลอยู่เสมอและมีส่วนสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย โดยปัญหาผิวชรา(skin aging) เกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่
1. ปัจจัยภายใน(intrinsic aging) หรือที่เรียกว่า chronological aging ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อทั้งเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในทั้งหมด อันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้นและพันธุกรรม โดยสัญญาณที่บ่งบอกถึงกระบวนการ intrinsic aging คือ มีการสะสมของริ้วรอยเหี่ยวย่นเล็กๆ(fine wrinkles) และจุดด่างดำบนผิวหนัง(skin pigmentation)
2. ปัจจัยภายนอก(extrinsic aging) คือ สิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกายที่มนุษย์สัมผัสในชีวิตประจำวัน เช่น แสงแดด ควันบุหรี่ ควันจากโรงงาน ฝุ่น PM 2.5 หรือ อาหารที่รับประทาน โดยลักษณะโรคผิวหนังที่เกิดจากปัจจัยภายนอกมักจะแสดงออกมาในรูปแบบริ้วรอยขนาดใหญ่(coarse wrinkles) การสะสมของอีลาสตินที่ผิดปกติในชั้นหนังแท้ทำให้ผิวหนังหนา แห้งและมีรอยย่น(solar elastosis) หรือจุดด่างดำบนใบหน้าที่ไม่เป็นระเบียบ(pigmentation irregularities)
อย่างไรก็ดีคุณภาพชีวิตนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในรูปลักษณ์ของตนเองด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาผิวชรา(skin aging)นั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก
เซลล์แก่มีความสัมพันธ์กับผิวแก่อย่างไร?
ความชราระดับเซลล์ หรือ เซลล์แก่(cellular senescence) เกิดขึ้นกับเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย กล่าวคือ เซลล์แก่จะอยู่ในระยะพักที่ไม่สามารถแบ่งเซลล์ได้อีก(proliferative arrest) สูญเสียการทำงาน(decline of tissue function) มีคุณสมบัติจำเพาะ คือ มีสัณฐานวิทยาที่แตกต่างไปจากเซลล์ปกติ(distinct morphology) มีสารพันธุกรรมดีเอ็นเอที่ถูกทำลาย(DNA damage) ติดอยู่ในวงจรการแบ่งตัวที่หยุดชะงัก(cell cycle arrest) มีไมโทคอนเดรียที่ทำงานผิดปกติ(mitochondrial dysfunction) มีโปรตีนที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน(protein quality impairment) มีกระบวนการอักเสบที่มากกว่าเซลล์ปกติ(inflammation)และมีสารอนุมูลอิสระจากออกซิเจน(reactive oxygen species;ROS)มากกว่าปกติ ทำให้เซลล์แก่ไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เหมือนเซลล์ในวัยหนุ่มสาวเพราะติดอยู่ในวงจร cell cycle arrest อันมีสาเหตุมาจากการสะสมของสารพันธุกรรมดีเอ็นเอที่ถูกทำลายเป็นจำนวนมาก(accumulation of DNA damage) นอกจากนี้ยังพบว่าเซลล์แก่นั้นมีการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความแก่เปลี่ยนแปลงไป เช่น heterochromatin foci(SAHF) ที่มีปริมาณมากกว่าปกติ และมีการแสดงออกของโปรตีน Lamin B1 ปริมาณน้อยกว่าปกติ เป็นต้น
หากมีการสะสมของเซลล์แก่ปริมาณมากขึ้นก็จะทำให้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ รวมถึงผิวหนังนั้นแก่หรือผิวแก่ตามมานั่นเอง
PM 2.5 ทำให้ผิวแก่!
ผิวหนังของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์หลายประเภทมารวมกัน ประกอบด้วย fibroblasts, keratinocytes หรือ melanocytes เป็นต้น ซึ่งความชราของผิว(skin aging)เกิดจากหลายปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน
ปัจจุบันปัญหามลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะ “ฝุ่น PM 2.5” เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศจากการเผาป่า ควันบุหรี่ ควันจากรถยนต์หรือโรงงานต่างๆ ซึ่งมลพิษทางอากาศก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล กิจกรรมของมนุษย์และลักษณะของภูมิศาสตร์ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายที่แสดงถึงผลลัพธ์ของการสัมผัสมลพิษทางอากาศ คือ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต เพิ่มระยะเวลานอนโรงพยาบาลและเร่งกระบวนการชราของผิว โดยมลพิษทางอากาศทำให้เกิดอาการและอาการแสดงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ หายใจลำบาก ผิวหนังระคายเคือง ลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือแม้กระทั่งก่อให้เกิดมะเร็งได้ในอนาคต
“ฝุ่น PM” (Particulate matter) เป็นอนุภาคที่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและผิวหนัง เช่น โลหะหนัก สารพิษ ควันบุหรี่ ละอองเกสรดอกไม้ สารกระตุ้นภูมิแพ้ และ หมอกควัน ซึ่งมีขนาดหลากหลาย ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ตามขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง(aerodynamic diameter;Dp) โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีผลต่ออำนาจทะลุทะลวงเข้าสู่ร่างกายผ่านทางถุงลมในปอดและเข้าสู่กระแสเลือดตามลำดับ
- Coarse particle หรือ PM 10 คือ PM ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมโครเมตร ประกอบด้วยฝุ่นละออง ดิน และหมองควันจากโรงงาน เป็นต้น
- Particle matter หรือ PM 2.5 คือ PM ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1-2.5 ไมโครเมตร ประกอบด้วยฝุ่นควันจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์และโรงงานไฟฟ้าเป็นหลัก
- Ultrafine particles หรือ PM 0.1 คือ PM ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ไมโครเมตร ประกอบด้วยฝุ่นควันจากเครื่องยนต์ดีเซล
ฝุ่นPM 2.5 ทำให้คอลลาเจนลดลง!
ฝุ่น PM 2.5 ทำร้ายผิวหนังโดยการทำให้สารพันธุกรรมดีเอ็นเอในเซลล์ถูกทำลาย รบกวนเมตาบอลิซึมของไขมัน เพิ่มการสร้างอนุมูลอิสระจากออกซิเจน(reactive oxygen species;ROS) ลดการสร้างโกรทแฟคเตอร์(transforming growth factor beta) ลดการสร้าง collagen type 1 alpha chain(COL1A1, COL1A2) และลดการสร้างelastinจาก fibroblast ทำให้เกิดริ้วรอยต่างๆ รวมถึงใบหน้าที่ดูแก่ก่อนวัยอันควร
เพราะความสวยของคุณคือความสุขของเรา ให้ THE KLINIQUE ดูแลคุณ
สอบถามโปรโมชั่นหรือปรึกษาปัญหาผิวและรูปร่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
Line OA: http://bit.ly/TheKlinique